Sunday, July 8, 2018

Robod is Coming (Intro to Robot)

INTRO TO ROBOT


คิดว่าหลายๆคน คงเคยได้ยินได้เห็น "หุ่นยนต์" ในหนังภาพยนต์ฟอร์มยักษ์เรื่องต่างๆกันมาแล้วบ้าง     ไม่ว่าจะเป็น คนเหล็ก (Terminator) , Transformer , Pacific Rim ทั้งหมดล้วนนับเป็นหุ่นยนต์ทั้งสิ้น 

หลายคนคงมีคำถามอยู่ในใจว่า 
"หุ่นยนต์เหล่านี้มีอยู่จริงรึเปล่า ถ้ามีอยู่จริงแล้วจะยึดครองโลกแบบในหนังไหม"

ตอบได้เลยครับว่าในปัจจุบัน "หุ่นยนต์มีอยู่จริงครับ" แต่ไม่น่ากลัวเหมือนอย่างในหนังอย่างแน่นอน
อย่างเช่นเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ 

   
     เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า Asimo 



ป็นหุ่นยนต์ที่มีแบบโครงสร้างมาจากร่างกายของมนุษย์ (Humanoid) สามารถทำอะไรหลายๆอย่างได้เหมือนมนุษย์ อย่างเช่นการเดิน วิ่ง ขึ้นบันได รวมถึงการพูดด้วย  


ภาพตัวอย่าง : Asimo กำลังเดินขึ้นบันได


ในปัจจุบันหุ่นยนต์บางประเภทก็เข้ามามีบทบาทในกิจวัตรประจำวันเราแล้ว ยกตัวอย่างเช่น 
(1) หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ,  (2) อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการเดินทาง (Segway) เป็นต้น


                                       
(1) หุ่นยนต์ดูดฝุ่นของบริษัท Autobot



(2) Segway อำนวยความสะดวกในการเดินทาง

         หลังจากทำความรู้จักกับหุ่นยนต์กันมาบ้างแล้ว เรามาดูกันต่อว่าสิ่งที่เรียกว่า "หุ่นยนต์" จำเป็นต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีหน้าที่ความสำคัญอย่างไรสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 3 ส่วนหลักๆได้แก่
           
            
         1.Sensor 
           ทำหน้าที่เหมือนประสาทสัมผัสของหุ่นยนต์ (การมองเห็น,การได้ยิน,การสัมผัส) ซึ่ง Sensor ที่เห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันก็มีอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเช่น 
                        

-  เครื่องชั่งน้ำหนัก มี Sensor ที่เรียกว่า "Load Cell" ซึ่ง Load Cell เป็น Sensor ที่ใช้  วัดแรงที่กดทับ


ภาพตัวอย่าง : Load Cell
                        
-  ก็อกน้ำในห้างที่สามารถเปิดน้ำได้อัตโนมัติ มี Sensor ที่เรียกว่า "Infrared" เป็น Sensor ที่ใช้การสะท้อนของแสง เพื่อเปิด-ปิด การทำงานของก็อกน้ำ
ภาพตัวอย่าง : Infrared Sensor
                         

-  เครื่องปรับอากาศ(แอร์) มี Sensor ที่เรียกว่า "Thermometer" เป็น Sensor ที่ใช้วัดอุญหภูมิ
ภาพตัวอย่าง : Thermometer
          2.Controller
         ทำหน้าเป็นสมองของหุ่นยนต์ ซึ่งต้องรับข้อมูลที่ถูกส่งมาจาก Sensor เพื่อใช้ในตัดสินการกระทำถัดไปของหุ่นยนต์ ซึ่ง Controller ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย แต่สำหรับผู้เริ่มต้นแนะนำให้ใช้ Arduino เนื่องจากสามารถใช้งานได้ง่ายและมีแหล่งข้อมูลที่สามารถใช้ศึกษาได้ด้วยตนเองอีกด้วย

ภาพตัวอย่าง : Board Arduino
          
           3.Actuator 
           ทำหน้าที่เป็นเหมือนแขนขาของหุ่นยนต์ เช่น ล้อ มอเตอร์ กระบอกลม โดยการทำงานของ Actuator จะขึ้นอยู่กับ Sensor และ Controller ซึ่งพอมาลองเปรียบเทียบกับการทำงานของร่างกายมนุษย์ก็เห็นได้ชัดว่าระบบการทำงานของหุ่นยนต์ ก็มีต้นแบบมาจากระบบการทำงานของมนุษย์นั่นเอง


ภาพตัวอย่าง : มอเตอร์ (Motor)
        ในโลกของหุ่นยนต์ยังมีเรื่องราวอีกมายมาก ในบทความนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น หากท่านผู้ชม ท่านผู้อ่านท่านใด มีคำถามหรืออยากให้หัวข้อในบทความถัดไปเป็นเรื่องอะไร สามารถทิ้ง Comment ไว้ได้ ทางทีมงาน My Robod ของเราจะทำการพิจารณาและทำเป็นบทความให้กระชับและเข้าใจเรื่องราวของหุ่นยนต์มากขึ้น แล้วเจอกันใหม่ในบทความถัดไปนะครับ 

Channel YouTube : My Robod

Keyword : Asimo Robot , Sensor , Controller , Actuator   

Reference (Image) 
http://asimo.honda.com/ASIMO_DCTM/News/images/highres/Sign_lang_Hello.jpg
http://asimo.honda.com/ASIMO_DCTM/News/images/highres/ASIMO_Zurich__4_.jpg 
     

No comments:

Post a Comment